Translation:Charter of the Courts of Justice 2000/2007-09-06 (1)
Table of contents
[edit]Statute
[edit]Title
[edit]พระธรรมนูญศาลยุติธรรม |
Charter of the Courts of Justice[t.1] |
- Wikisource notes
- ↑ (1) Literally 'Sacred Charter of the Courts of Justice'.
(2) Similar documents are known by various names, including constitution and statute. For example:
Country | Law title | |
---|---|---|
Vernacular | Translation | |
Germany | Gerichtsverfassungsgesetz | Courts Constitution Act[ref-t.1] |
Ireland | Courts (Establishment and Constitution) Act, 1961[ref-t.2] | |
Japan | Saibansho-hō (裁判所法) | |
— | Rome Statute of the International Criminal Court | — |
— | Statute of the International Court of Justice | — |
- References
- ↑ Müller-Rostin, Kathleen (2014). "Courts Constitution Act". Gesetze im Internet. Saarbrücken: Federal Ministry of Justice and Consumer Protection. Retrieved 2017-02-08.
- ↑ Office of the Attorney General of Ireland (n.d.). "Courts (Establishment and Constitution) Act, 1961". Irish Statute Book. Government of Ireland. Retrieved 2017-02-08.
- ↑ Ministry of Justice, Japan (2009). "Court Act". Japanese Law Translation Database System. Tokyo: Ministry of Justice, Japan. Retrieved 2017-02-08.
- ↑ Japan (1948). Constitution of Japan and the Court Organization Law, etc. Tokyo: Supreme Court of Japan. p. 20. Retrieved 2017-02-08.
- ↑ M. Lorenzo, Richard (1974). "The Judicial System of Japan". Case Western Reserve Journal of International Law 6 (2): 295. Retrieved 2017-02-08.
- ↑ R. Luney, Jr., Percy (1990). "The Judiciary: Its Organization Status in the Parliamentary System". Law and Contemporary Problems 53 (Winter 1990): 137. Retrieved 2017-02-08.
Chapter 1
[edit]
หมวด ๑
บททั่วไป |
Chapter 1
General provisions |
1
[edit]
มาตรา ๑
ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น |
Section 1
The courts of justice under this Charter are of three tiers, that is, courts of first instance, appellate courts, and the Supreme Court of Justice, save where a law otherwise prescribes. |
2
[edit]
มาตรา ๒
ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น |
Section 2
Courts of first instance are the Civil Court, the Southern Bangkok Civil Court, the Thon Buri Civil Court, the Criminal Court, the Southern Bangkok Criminal Court, the Thon Buri Criminal Court, provincial courts, municipal courts, and other courts of justice which are designated as courts of first instance by their constituent acts. |
3
[edit]
มาตรา ๓
ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค |
Section 3
Appellate courts are the Court of Appeal and the Regional Courts of Appeal. |
4
[edit]
มาตรา ๔
ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น อาจแบ่งส่วนราชการเป็นแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และจะให้มีอำนาจในคดีประเภทใดหรือคดีในท้องที่ใดซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของแต่ละศาลนั้นแยกต่างหากโดยเฉพาะก็ได้ โดยออกเป็นประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมตามวรรคหนึ่ง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ |
Section 4
|
5
[edit]
มาตรา ๕
ให้ประธานศาลฎีกามีหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรมเพื่อให้กิจการของศาลยุติธรรมดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน และให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจดูแลให้ผู้พิพากษาปฏิบัติตามระเบียบวิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง |
Section 5
The President of the Supreme Court of Justice shall bear the duty to law down Courts of Justice Judicial Service Rules so as to enable the conduct of business of the courts of justice in an orderly and uniform manner. And the President of the Supreme Court of Justice shall have the power to supervise judges for their correct observance of rules and processes as determined by law or otherwise determined. |
6
[edit]
มาตรา ๖
ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม มีอำนาจเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง การยุบเลิก หรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงจำนวน สภาพ สถานที่ตั้ง และเขตอำนาจศาลตามที่จำเป็นเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปโดยเรียบร้อยตลอดราชอาณาจักร |
Section 6
The Secretary General of the Office of the Courts of Justice shall have the power to, with the approval of the Courts of Justice Judicial Service Commission, submit to the Council of Ministers for consideration and implementation opinions concerning the establishment of courts of justice, the dissolution of the same, or the change of their jurisdiction, having regard to the number, condition, locations, and jurisdiction of courts as necessary for enabling the orderly carriage of justice to the people throughout the Kingdom. |
7
[edit]
มาตรา ๗
ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดจำนวนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมให้เหมาะสมตามความจำเป็นแห่งราชการ |
Section 7
The Courts of Justice Judicial Service Commission shall determine a number of judges for a court of justice as appropriate for the necessity of its official service. |
8
[edit]
มาตรา ๘
ให้มีประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกา หนึ่งคน ประธานศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์ หนึ่งคน ประธานศาลอุทธรณ์ภาคประจำศาลอุทธรณ์ภาค ศาลละหนึ่งคน และให้มีอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละหนึ่งคน กับให้มีรองประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาคประจำศาลอุทธรณ์ภาค และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละหนึ่งคน และในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในทางราชการ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา จะกำหนดให้มีรองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มากกว่าหนึ่งคน แต่ไม่เกินสามคนก็ได้ เมื่อตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทำการแทน ถ้ามีรองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หลายคน ให้รองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นตามวรรคสอง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสาม ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้ ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้ |
Section 8
|
- Wikisource notes
- ↑ According to the Courts of Justice Judicial Service Act 2000, a senior judge (ผู้พิพากษาอาวุโส) is a judge who has reached the retirement age (60) but remains in office until reaching 70 after passing ability assessments.
- ↑ According to the Courts of Justice Judicial Service Act 2000, a junior judge (ผู้พิพากษาประจำศาล) is the second lowest judicial position. A judge starts his career as a judge trainee (ผู้ช่วยผู้พิพากษา) and may become a junior judge after one year in the judge trainee office.
9
[edit]
มาตรา ๙
ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ศาลละหนึ่งคน เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้ ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้ |
Section 9
|
10
[edit]
มาตรา ๑๐
ในกรณีที่มีการแบ่งส่วนราชการในศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ หรือศาลชั้นต้นออกเป็นแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกหรือผู้พิพากษาหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น แผนกหรือหน่วยงานละหนึ่งคน เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกหรือผู้พิพากษาหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามวรรคหนึ่งว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในแผนกหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในแผนกหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในแผนกหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นเป็นผู้ทำการแทน ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้ ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะทำการแทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้ |
Section 10
|
11
[edit]
มาตรา ๑๑
ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ต้องรับผิดชอบในราชการของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีอำนาจตาม (๒) ด้วย และให้มีหน้าที่ช่วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี ตามที่ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมอบหมาย |
Section 11
|
12
[edit]
มาตรา ๑๒
ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกหรือผู้พิพากษาหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ต้องรับผิดชอบงานของแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้เป็นไปโดยเรียบร้อยตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมที่ได้จัดตั้งแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้น และต้องปฏิบัติตามคำสั่งของประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลนั้น |
Section 12
The presiding judges of the divisions or the presiding judges of the agencies called otherwise in accordance with section 10, paragraph 1, must be responsible for the work of their divisions or agencies called otherwise so that it be carried out in an orderly manner as determined in the Courts of Justice Judicial Service Commission announcements constituting those divisions or agencies called otherwise, and must observe the orders of the President of the Supreme Court, the President of the Court of Appeal, the President of the Regional Court of Appeal, the chief judge of the court of first instance, or the presiding judge of the court they belong. |
13
[edit]
มาตรา ๑๓
ให้มีอธิบดีผู้พิพากษาภาค ภาคละหนึ่งคน จำนวนเก้าภาค มีสถานที่ตั้งและเขตอำนาจตามที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาคว่างลง หรือเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาภาคไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ประธานศาลฎีกาสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทน ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้ |
Section 13
|
- Wikisource notes
- ↑ Literally 'There shall be Chief Judges of Regions, one person for each Region, numbering nine Regions'.
14
[edit]
มาตรา ๑๔
ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคเป็นผู้พิพากษาในศาลที่อยู่ในเขตอำนาจด้วยผู้หนึ่ง โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
|
Section 14
The Chief Judge of a Region shall also be a judge of the courts under his jurisdiction, having the powers and duties as determined in section 11, paragraph 1, in addition to the following authority:
|
Chapter 2
[edit]
หมวด ๒
เขตอำนาจศาล |
Chapter 2
Court jurisdiction |
15
[edit]
มาตรา ๑๕
ห้ามมิให้ศาลยุติธรรมศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลยุติธรรมอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องโดยชอบแล้วไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม |
Section 15
No particular court of justice shall admit for trial and adjudication a case which another court of justice has duly admitted, save where such case has been transferred to it in accordance with the provisions of a procedural law or with the Charter of the Courts of Justice. |
16
[edit]
มาตรา ๑๖
ศาลชั้นต้นมีเขตตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา[16.i] ศาลแพ่งและศาลอาญามีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่น ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งหรือศาลอาญา และคดีนั้นเกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งหรือศาลอาญา ศาลแพ่ง หรือศาลอาญา แล้วแต่กรณี อาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอำนาจ ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวง และอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ |
Section 16
|
- Original notes
|
|
17
[edit]
มาตรา ๑๗
ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง |
Section 17
Municipal courts have the power to try and adjudicate cases and have the power to conduct examinations or issue whatever order for which a single judge has the power as determined in section 24 and section 25, paragraph 1. |
18
[edit]
มาตรา ๑๘
ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น |
Section 18
Provincial courts have the power to try and adjudicate all the civil cases and criminal cases which are not under the power of the other courts of justice. |
19
[edit]
มาตรา ๑๙
ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ และศาลอาญาธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณี |
Section 19
|
20
[edit]
มาตรา ๒๐
ศาลยุติธรรมอื่นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นหรือกฎหมายอื่นกำหนดไว้ |
Section 20
Other courts of justice have the power to try and adjudicate cases as determined by their constituent acts or other laws. |
21
[edit]
มาตรา ๒๑
ศาลอุทธรณ์มีเขตตลอดท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ และคดีนั้นอยู่นอกเขตของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์อาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่งโอนคดีนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาคที่มีเขตอำนาจ |
Section 21
|
22
[edit]
มาตรา ๒๒
ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอำนาจศาล และมีอำนาจดังต่อไปนี้
|
Section 22
The Court of Appeal and the Regional Courts of Appeal have the power to try and adjudicate all cases in which judgments or orders of the courts of first instance are appealed in accordance with the provisions of the laws on appeal and on court jurisdiction, and have the following power:
|
Translation:Charter of the Courts of Justice 2000/23/1
Chapter 3
[edit]
หมวด ๓
องค์คณะผู้พิพากษา |
Chapter 3
Judicial quorums |
24
[edit]
มาตรา ๒๔
ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้
|
Section 24
A single judge shall have the following power:
|
25
[edit]
มาตรา ๒๕
ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะ มีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นดังต่อไปนี้
ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (๓) (๔) หรือ (๕) |
Section 25
|
- Wikisource notes
- ↑ Literally 'but [he] is unable to impose the punishment of imprisonment in excess of six months, or a fine in excess of ten thousand baht, or both imprisonment and fine, which either or both of the punishment of imprisonment and fine exceed the said rate'.
26
[edit]
มาตรา ๒๖
ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง |
Section 26
Subject to section 25, as for the trial and adjudication of cases of a court of first instance other than a municipal court or another court of justice for which its constituent act determines otherwise, there must be at least two judges, amongst whom there must be no more than one junior judge,[8.2] to constitute a quorum with the power to try and adjudicate all civil cases or criminal cases. |
27
[edit]
มาตรา ๒๗
ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าประชุมใหญ่ในศาลนั้นหรือในแผนกคดีของศาลดังกล่าว เมื่อได้ตรวจสำนวนคดีที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมแผนกคดีแล้ว มีอำนาจพิพากษาหรือทำคำสั่งคดีนั้นได้ และเฉพาะในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย |
Section 27
|
28
[edit]
มาตรา ๒๘
ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้
ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๓ มีอำนาจตาม (๑) (๒) และ (๓) ด้วย |
Section 28
|
- Wikisource notes
- ↑ Court of first instance judge (ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น) is a judicial office, according to the Courts of Justice Judicial Service Act 2000.
29
[edit]
มาตรา ๒๙
ในระหว่างการทำคำพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทำคำพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้ หลังจากได้ตรวจสำนวนคดีนั้นแล้ว
ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๓ มีอำนาจตาม (๑) (๒) และ (๓) ด้วย |
Section 29
|
30
[edit]
มาตรา ๓๐
เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ตามมาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ หมายถึง กรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณาหรือทำคำพิพากษาในคดีนั้นได้ |
Section 30
In section 28 and section 29, other inevitable necessity denotes an event in which any of the judges that constitute the quorum hearing the case in question vacates the position he is holding, or is challenged and withdraws himself, or is unable to carry out his official service to the extent unable to hear or adopt a judgment for the case. |
31
[edit]
มาตรา ๓๑
เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ตามมาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ นอกจากที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๐ แล้ว ให้หมายความรวมถึง กรณีดังต่อไปนี้ด้วย
|
Section 31
In addition to that determined in section 30, other inevitable necessity in section 28 and section 29 shall also include the following events:
|
Chapter 4
[edit]
หมวด ๔
การจ่าย การโอน และการเรียกคืนสำนวนคดี |
Chapter 4
Assignment, transfer, and recall of case files |
32
[edit]
มาตรา ๓๒
ให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีในแต่ละศาล แล้วแต่กรณี รับผิดชอบในการจ่ายสำนวนคดีให้แก่องค์คณะผู้พิพากษาในศาลหรือในแผนกคดีนั้น โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม การออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความเชี่ยวชาญและความเหมาะสมขององค์คณะผู้พิพากษาที่จะรับผิดชอบสำนวนคดีนั้น รวมทั้งปริมาณคดีที่องค์คณะผู้พิพากษาแต่ละองค์คณะรับผิดชอบ |
Section 32
|
33
[edit]
มาตรา ๓๓
การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบขององค์คณะผู้พิพากษาใด ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลแขวง แล้วแต่กรณี ที่มิได้เป็นองค์คณะในสำนวนคดีดังกล่าว ได้เสนอความเห็นให้กระทำได้ ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลแขวง แล้วแต่กรณี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้รองประธานศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในศาลนั้น เป็นผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็นแทน ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีหนึ่งคน และในกรณีที่รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดของศาลนั้นเป็นผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็น ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจในการเสนอความเห็นตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ในกรณีที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนหรือองค์คณะผู้พิพากษามีคดีค้างการพิจารณาอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งจะทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลนั้นล่าช้า และผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนหรือองค์คณะผู้พิพากษานั้นขอคืนสำนวนคดีที่ตนรับผิดชอบอยู่ ให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี มีอำนาจรับคืนสำนวนคดีดังกล่าว และโอนให้ผู้พิพากษาหรือองค์คณะผู้พิพากษาอื่นในศาลนั้นรับผิดชอบแทนได้ |
Section 33
|
Licences
[edit]This work is a translation and has a separate copyright status to the applicable copyright protections of the original content.
Original: |
This work is in the public domain worldwide because it originated in Thailand and is a work under Template error: please specify the type of this work (see template documentation) of Thailand's Copyright Act, 2537 BE (1994) (WIPO translation), which provides:
Public domainPublic domainfalsefalse |
---|---|
Translation: |
Released into public domain I agree to release my text and image contributions, unless otherwise stated, into the public domain. Please be aware that other contributors might not do the same, so if you want to use my contributions under public domain terms, please check the multi-licensing guide.
Public domainPublic domainfalsefalse |